วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ของขวัญ : วัฒนธรรมของญี่ปุ่น : โอะยูริโมะโนะ

การให้ของขวัญ เป็นการแสดงความยินดี เป็นประเพณีร่วมกันของคนทุกเชื้อชาติ ทุกประเทศ สำหรับประเทศญี่ปุ่นแล้ว มีการส่งของขวัญ เพื่อเป็นการฉลองโอกาสต่าง ๆ เช่น

การฉลองการมีบุตร
งานฉลองสำหรับ 1 เด็ก ที่อายุครบ 3 ขวบ 5 ขวบ 7 ขวบ
วันเกิด
การเข้าศึกษาต่อ
การจบการศึกษา
การเข้าทำงาน
การแต่งงาน
การขึ้นบ้านใหม่
การเลื่อนตำแหน่ง
การฉลองอายุครบ 60 ปี เป็นต้น

การส่งของขวัญ ความหมายดั้งเดิมของการส่งของขวัญคือ การสื่อความรู้สึกไปสู่อีกฝ่ายหนึ่งในรูปของสิ่งของ เวลาส่งของขวัญ คนญี่ปุ่นจะให้การเอาใจใส่กับการห่อ ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว การไม่แสดง ความรู้สึกออกมา อย่างโจ่งแจ้ง ถือเป็นความงดงามทางคุณธรรมอย่างหนึ่ง คนญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการ "ห่อหุ้มความรู้สึก" อย่างมาก คนญี่ปุ่นสมัยก่อนได้พยายามหาวิธีที่จะห่อของขวัญให้ดูสวยงาม จึงได้ให้กำเนิด "วิธีการห่อของขวัญ" ที่งดงามเกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ตามวิธีการเช่นนี้ บางครั้งทำให้มีการให้ความสำคัญ กับลักษณะ ภายนอกของห่อของขวัญมากกว่าสิ่งของที่อยู่ภายใน

นอกจากนั้นการห่อที่มากเกินไป ยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในด้านสิ่งแวดล้อม ห้างสรรพสินค้าหรือ ซุปเปอร์มาร์เก็ต มักห่อของขวัญ ด้วยกระดาษรีไซเคิล หรือไม่ก็ห่อแบบง่ายๆ นอกจากนั้นการใช้ ผ้าห่อของ ที่เรียกว่า ฟูโระชิกิ แบบดั้งเดิม ก็กลับมานิยมอีก ทั้งที่เวลาที่จะมอบของขวัญที่ห่อด้วยผ้าฟูโระชิกิ ให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยทั่วไป จะเอาผ้าออกต่อหน้า อีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนที่จะมอบให้ ส่วนการไม่เปิดของขวัญทันทีที่ได้รับนั้น มีความเป็นมาจากประเพณี การถวายของ แก่เทพเจ้าในสมัยโบราณ โดยเริ่มแรกจะนำของขวัญนั้นถวายแด่เทพเจ้า หลังจากนั้นหัวหน้าครอบครัว จะเป็นผู้เปิด จากประเพณีนี้จึงถือเป็นมารยาทที่ไม่เปิดของขวัญทันทีที่ได้รับ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเคร่งครัดมากนัก

ประเพณีการให้ของขวัญในญี่ปุ่นมีลักษณะพิเศษ คือ มีการให้ของขวัญ ตามฤดูกาล กล่าวคือ

* โอะ-ชูเง็น- ในฤดูร้อน
* โอะ-เซะอิโม - ในฤดูหนาว

ซึ่งแตกต่างจากการให้ของขวัญ เพื่อแสดงความยินดีโดยเป็นการส่งของขวัญเพื่อเป็นการขอบคุณต่อ ผู้ให้ความช่วยเหลือด้วยดีเสมอมานั่นเอง

คนทั่วไปจะส่งของขวัญให้พ่อแม่ หรือนะโกโดะ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในงานแต่งงานหรือพ่อสื่อ แม่สื่อ นั่นเอง เจ้านาย ครู แพทย์ประจำครอบครัว ในกรณีของบริษัทส่วนใหญ่ จะส่งของขวัญให้กับ บริษัทที่ติดต่อค้าขาย กันอยู่นั่นเอง

การให้ของขวัญตอบแทน - โอะ - คะเอะชิ

การให้สิ่งของเพื่อตอบแทนของขวัญที่ได้รับ นับเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการให้ของขวัญในญี่ปุ่น และไม่ต้องกังวล ว่าอุตส่าห์ มอบของขวัญให้แล้วอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่เข้าใจความปรารถนาดีของผู้ให้ เพราะคนญี่ปุ่นจะแสดงความขอบคุณ ต่อของขวัญที่ได้รับ โดยการมอบของขวัญตอบแทน ที่เรียกว่า โอะ-คะเอะชิ การแสดงความขอบคุณ ด้วยการส่งบัตร แสดงความขอบคุณนั้น ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่การส่งของขวัญตอบแทนในทันทีจะเป็นการเสียมารยาท ถ้าเป็นกรณี แสดงความยินดี ควรส่งภายในรอบสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ได้รับของขวัญ

ส่วนกรณีการแสดงความเสียใจ

ควรส่งหลังจากประกอบพิธีที่ระลึกถึงผู้ตายเมื่อครบสี่สิบเก้าวันหรือถ้าไม่ส่งของตอบแทนก็จะ
จดบันทึกไว้ก็ได้ เมื่อถึงโอกาสที่อีกฝ่ายหนึ่ง เกิดกรณีแบบเดียวกันนี้ขึ้นจึงส่งของขวัญไปให้

สำหรับกรณีการตอบแทนการมอบเงินช่วยในงานศพ

จะไม่มีการส่งบัตรขอบคุณ ทั้งนี้เพื่อมิให้ครอบครัวของผู้ตาย รู้สึกเศร้าโศกยิ่งขึ้น และแม้แต่เงินที่ได้รับมอบในงานศพ ก็ยังมีการให้ ของขวัญตอบแทน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ระยะหลังๆ มักนำไปบริจาค ให้องค์การการกุศลมากขึ้น

ในกรณีของการแสดงความยินดีต่อเด็กแรกเกิดและงานฉลองอื่นๆ ภายในครอบครัว

จะให้ของขวัญตอบแทนเป็นข้าวแดง(เซะกิซัน)และน้ำตาลสีแดงและขาวเพื่อเป็นการแบ่งปัน
ความปิติยินดี ให้กับผู้ที่ส่งของขวัญมาอวยพร

ในงานเลี้ยงฉลองการแต่งงาน

แขกที่มาร่วมงานจะได้รับของขวัญตอบแทนที่เรียกว่า มิกิเดะโมะโระ ในประเทศญี่ปุ่น มีการให้ เงินสด เป็นของขวัญ ในหลายๆ กรณีการแสดง ความยินดีในโอกาสของการเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา การจบการศึกษา การบรรลุตินิภาวะ การแต่งงาน การไปเยี่ยมไข้ และการไปเยี่ยมเยียน เมื่ออีกฝ่ายหนึ่ง ประสบความเดือดร้อน จากไฟไหม้ จะให้ของขวัญเป็นเงินสด เป็นส่วนใหญ่


ชาวญี่ปุ่นเรียกการให้ของขวัญปีใหม่ว่าโอะโทะชิตะบะส่วนโคเค็นคือการได้สิ่งของหรือเงินเพื่อแสดง
ความเสียใจในงานศพ ส่วนใหญ่จะให้ของขวัญเป็นเงินสด โดยปกติจะไม่มีการส่งของขวัญตอบแทน ในกรณีของการให้ของขวัญ เพื่อแสดงความยินดี ในโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา การจบการศึกษา วันเกิดและการเยี่ยมเยืยน การเจ็บป่วย หรือได้รับความเดือดร้อน จากภัยพิบัติต่างๆ แต่เป็นมารยาทที่ควรจะต้อง ส่งบัตรแสดงความขอบคุณกลับไป

บริการด้านงานอดิเรก ไลฟ์สไตล์ .. คลิกที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม